วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556
ธงอาเซียน |
SEAN Flag and Logo ธงและตราสัญลักษณ์อาเซียน
สัญลักษณ์อาเซียน คือ
ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้
หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
- สีน้ำเงิน หมายถึง
สันติภาพและความมั่นคง
- สีแดง หมายถึง
ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
- สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
- สีเหลือง หมายถึง
ความเจริญรุ่งเรือง
อาเซียน (ASEAN)
ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (Association of Southeast Asian Nations – ASEAN) คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ
ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ร่วมลงนามในเอกสารก่อตั้งอาเซียน ที่เรียกว่า ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) ที่กรุงเทพฯ และยังคงมีบทบาทในอาเซียนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ
และสังคม เพื่อสร้างสรรค์ให้ภูมิภาคนี้เป็นดินแดนที่มีความมั่นคง สงบสุข ก้าวหน้าและพัฒนาตลอดไป
ด้านการเมือง นอกจากไทยจะมีบทบาทนำในการอาศัยกรอบความร่วมมืออาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหาในภูมิภาคและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความสงบสุขของภูมิภาคแล้วในปัจจุบันไทยยังได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ในการพยายามส่งเสริมและปรับปรุงทบทวนกลไกความร่วมมือของอาเซียนให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย เพื่อปรับแนวทางการดำเนินนโยบายของตนให้สอดคล้องและเหมาะสมกับพัฒนาการทางการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
ด้านการเมือง นอกจากไทยจะมีบทบาทนำในการอาศัยกรอบความร่วมมืออาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหาในภูมิภาคและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความสงบสุขของภูมิภาคแล้วในปัจจุบันไทยยังได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ในการพยายามส่งเสริมและปรับปรุงทบทวนกลไกความร่วมมือของอาเซียนให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย เพื่อปรับแนวทางการดำเนินนโยบายของตนให้สอดคล้องและเหมาะสมกับพัฒนาการทางการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
ไทยได้มีบทบาทในกิจกรรมความร่วมมือด้านการเมืองที่สำคัญของอาเซียนตลอดมา ได้แก่ การแก้ไขปัญหากัมพูชาและการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคอินโดจีน การประกาศให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality) ในปี พ.ศ. 2514 การผลักดันให้มีการลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation) ในปี พ.ศ. 2519 การเป็นผู้ริเริ่มสำคัญในการจัดให้มีการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ASEAN Regional Forum – ARF) และการลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapons Free Zone –
SEANWFZ) ซึ่งดำเนินการในระหว่างการประชุมผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนธันวาคม 2538
นอกจากนี้
ไทยก็ยังมีบทบาทนำในการผลักดันมติของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนดังกล่าว ให้เร่งดำเนินการขยายสมาชิกภาพอาเซียนให้ครอบคลุมทั้ง 10 ประเทศ
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในที่สุดได้นำไปสู่มติของที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยพิเศษ ณ กรุงจาร์กาตา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม
2540 ให้รับกัมพูชา ลาว และพม่า เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนพร้อมกัน ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) สมัยที่
30 ณ กรุงจาร์กาตา ในวันที่ 3 เดือนกรกฎาคม 2543
แต่เนื่องจากปัญหาความไม่สงบภายในประเทศกัมพูชา ที่ประชุมฯ จึงมีมติให้ระงับการเข้าเป็นสมาชิกของกัมพูชาไว้ชั่วคราวก่อน แต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่ปัญหาดังกล่าวได้ยุติลงอาเซียนได้รับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 10 โดยจัดพิธีรับขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ด้านเศรษฐกิจ ไทยมีบทบาทนำอย่างสม่ำเสมอในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความมั่งคั่งและความสงบสุขของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการประชุมครั้งสำคัญต่าง ๆ ของอาเซียน ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมลงนามในความตกลงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลายฉบับ ซึ่งสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของอาเซียนโดยรวมและของไทยเอง อาทิ ปฏิญญาสมานฉันท์แห่งอาเซียน (Declaration of ASEAN Concord) ปี พ.ศ. 2519 ซึ่งช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างสมาชิกอาเซียนและส่งเสริมอุตสาหกรรมการลงทุนหรือสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน (Preferential Trading Arrangement – PTA) ในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งให้สิทธิพิเศษทางการค้าด้วยการลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร
แต่เนื่องจากปัญหาความไม่สงบภายในประเทศกัมพูชา ที่ประชุมฯ จึงมีมติให้ระงับการเข้าเป็นสมาชิกของกัมพูชาไว้ชั่วคราวก่อน แต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่ปัญหาดังกล่าวได้ยุติลงอาเซียนได้รับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 10 โดยจัดพิธีรับขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ด้านเศรษฐกิจ ไทยมีบทบาทนำอย่างสม่ำเสมอในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความมั่งคั่งและความสงบสุขของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการประชุมครั้งสำคัญต่าง ๆ ของอาเซียน ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมลงนามในความตกลงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลายฉบับ ซึ่งสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของอาเซียนโดยรวมและของไทยเอง อาทิ ปฏิญญาสมานฉันท์แห่งอาเซียน (Declaration of ASEAN Concord) ปี พ.ศ. 2519 ซึ่งช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างสมาชิกอาเซียนและส่งเสริมอุตสาหกรรมการลงทุนหรือสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน (Preferential Trading Arrangement – PTA) ในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งให้สิทธิพิเศษทางการค้าด้วยการลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร
นอกจากนี้
ในการประชุมผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 4 ณ สิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ. 2535 อาเซียนเห็นชอบกับแนวคิดของนายอานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น ซึ่งเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area – AFTA) ขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตสำคัญในการป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก นับเป็นพัฒนาการของความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่การจัดทำความตกลงแม่บทว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน พ.ศ. 2535 (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation
1992) โดยตกลงในหลักการเพื่อลดอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรแปรรูปที่ค้าขายระหว่างกัน ให้มีอัตราภาษีต่ำสุดภายในระยะเวลา 15 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2536
ซึ่งในเรื่องดังกล่าว ต่อมาที่ประชุมผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ มีมติให้เร่งกำหนดเวลาการลดอัตราภาษีศุลกากรขั้นต่ำสุดดังกล่าวให้เร็วขึ้นเป็นภายใน 10 ปี กล่าวคือ พยายามลดภาษีสุดท้ายให้เหลือร้อยละ 0-5 % ภายในปี
2546 ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนทีพยายามดำเนินการตามพันธกรณีของ AFTA อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ก็ยังได้มีมติและเอกสารสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียนในหลายเรื่องที่เกิดขึ้นในการประชุมผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี
พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) อาทิ การเห็นชอบให้จัดทำโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation (AICO) Scheme) ขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนในด้านอุตสาหกรรม การลงนามในพิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยการพลังงานของอาเซียน โดยรัฐมนตรีต่างประเทศและเศรษฐกิจของอาเซียน การลงนามในกรอบความตกลงแม่บทว่าด้วยการบริการของอาเซียนและกรอบความตกลงแม่บทว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียน เป็นต้น
ต่อมาในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 1 ณ กรุงจาร์กาตา เมื่อปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ไทยก็ได้มีส่วนผลักดันมติสำคัญต่าง ๆ ในเรื่องเศรษฐกิจ ได้แก่ การจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียน (ASEAN Vision) ให้ครอบคลุมความร่วมมือด้านการเมืองและสังคมของอาเซียน การเร่งรัดการจัดทำความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกสินค้าผ่านแดน ซึ่งต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 6 เมื่อเดือนธันวาคม 2541 ที่กรุงฮานอย ได้มีการลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of
Goods in Transit) และปัจจุบันไทยยังเป็นประธานคณะทำงานด้านการอำนวยความสะดวกการคมนาคมขนส่งอาเซียน
นอกจากนี้
ไทยยังให้ความสำคัญกับความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงในส่วนของโครงสร้างขั้นพื้นฐานในระดับภูมิภาค อนุภูมิภาค และการพัฒนาระบบการคมนาคม ตลอดจนระดมเงินทุนจากประเทศภายนอกภูมิภาค องค์การระหว่างประเทศและภาคเอกชน นอกจากไทยจะมีบทบาทที่สร้างสรรค์ต่อมติและความตกลงด้านเศรษฐกิจที่สำคัญต่าง ๆ ของอาเซียนแล้ว การที่ไทยสนับสนุน ดร. สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง บุคคลสัญชาติไทย ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่อง AFTA เข้าดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการอาเซียน ตั้งแต่ 1 มิ.ย. พ.ศ. 2510 – 31 พ.ศ. 2542 ซึ่งดูแลรับผิดชอบงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน ก็ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงในการมีบทบาทอย่างแข็งขันของไทยต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในระดับหนึ่งด้วย
ด้านสังคม ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในการส่งเสริมความร่วมมือและประสานความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเน้นความร่วมมือในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้รับการศึกษา การอบรม มีสุขภาพสมบูรณ์และมีฐานะที่มั่นคง เพื่อให้ประชาชนชาวอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งความร่วมมือด้านสังคมของอาเซียนประกอบด้วย การพัฒนาสังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรมและสนเทศ สิ่งแวดล้อม และยาเสพติด ไทยได้มีส่วนร่วมที่สำคัญต่อพัฒนาการความร่วมมือด้านนี้ของอาเซียน โดยได้ผลักดันโครงการที่สำคัญหลายโครงการ อาทิ การริเริ่มจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network) เพื่อประโยชน์ในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการศึกษาและการดำเนินกิจกรรมด้านการศึกษาระดับสูง โดยมีสำนักงานอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ การจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ฯลฯ
ด้านสังคม ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในการส่งเสริมความร่วมมือและประสานความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเน้นความร่วมมือในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้รับการศึกษา การอบรม มีสุขภาพสมบูรณ์และมีฐานะที่มั่นคง เพื่อให้ประชาชนชาวอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งความร่วมมือด้านสังคมของอาเซียนประกอบด้วย การพัฒนาสังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรมและสนเทศ สิ่งแวดล้อม และยาเสพติด ไทยได้มีส่วนร่วมที่สำคัญต่อพัฒนาการความร่วมมือด้านนี้ของอาเซียน โดยได้ผลักดันโครงการที่สำคัญหลายโครงการ อาทิ การริเริ่มจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network) เพื่อประโยชน์ในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการศึกษาและการดำเนินกิจกรรมด้านการศึกษาระดับสูง โดยมีสำนักงานอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ การจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ฯลฯ
อีกทั้งยังได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการเป็นศูนย์อบรมเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดของอาเซียน และการผลักดันให้อาเซียนยกระดับแรงงานของตน โดยการดำเนินโครงการด้านการพัฒนาทักษะแรงงานของอาเซียนให้สามารถรองรับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ ตลอดจนผลักดันให้อาเซียนเห็นพ้องร่วมกันว่าไม่ควรเชื่อมโยงเรื่องมาตรฐานแรงงานเข้ากับการค้าระหว่างประเทศตามความประสงค์ของประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้
ไทยยังมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการความร่วมมือด้านสังคมของอาเซียน โดยอาจกล่าวได้ว่าการประชุมผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2538 ที่กรุงเทพฯ เป็นจุดเริ่มต้นของมิติใหม่ในการพัฒนาดังกล่าว เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ผู้นำอาเซียนแสดงเจตน์จำนงให้มีการยกระดับความร่วมมือด้านการพัฒนาสังคมให้ทัดเทียมกับความร่วมมือด้านการเมืองและเศรษฐกิจของอาเซียนโดยได้ระบุไว้ใน “ปฏิญญากรุงเทพ ปี ค.ศ. 1995” และมีแนวทางการดำเนินการคือ ความไพบูลย์ร่วมกันในการพัฒนามนุษย์ ความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ซึ่งสืบเนื่องจากแนวคิดนี้ ต่อมาที่ประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 1 ได้เห็นชอบให้จัดตั้งมูลนิธิอาเซียนขึ้น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการศึกษาและการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของอาเซียน ซึ่งจะเสริมสร้างจิตสำนึกในความเป็นอาเซียนและขยายการติดต่อ การไปมาหาสู่กัน แนวคิดการจัดตั้งมูลนิธิอาเซียนดังกล่าว ส่วนหนึ่งพัฒนามาจากข้อเสนอจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาสังคมของนายอำนวย วีรวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น และได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)